thenติดต่อเรา (02) 800-2630
thenติดต่อเรา (02) 800-2630

ประวัติความเป็นมา:

เป็นวิทยาลัยศาสนศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2542 ในสมัยที่ศาสตราจารย์ นพ. อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นอธิการบดีและวิวัฒนาการมาจากโครงการศูนย์ศาสนศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล และแพทย์หญิง อรวรรณ คุณวิศาล ประธานมูลนิธิน้ำทอง คุณวิศาล ร่วมกันจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ในสังกัดสำนักงานอธิการบดี

สถานที่ทำงานของวิทยาลัยอยู่ที่อาคารน้ำทอง คุณวิศาล ตรงข้ามกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เป็นอาคาร 5 ชั้น มีลักษณะโปร่งและโล่ง แต่ละชั้นของอาคารมีสถานที่สำหรับสนทนาเป็นระยะ ๆ ใกล้ลานดอกไม้ประดับ ตรงกลางบริเวณของตัวตึกเป็นสวนหย่อมพร้อมทั้งม้านั่งใต้ต้นไม้ บริเวณรอบอาคารมีไม้ยืนต้น สร้างความร่มรื่นให้แก่สถานที่นี้

การศึกษาศาสนาที่วิทยาลัยมีทั้งการศึกษาในชั้นเรียนกับอาจารย์ การอภิปรายกลุ่มย่อย และการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองในห้องสมุด และในชุมชนของศาสนิกชนศาสนาต่างๆ ทั้งด้วยตัวนักศึกษาแต่ละคนเองและด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม

นอกจากวิชาศาสนศึกษาแล้ว นักศึกษาของวิทยาลัยยังมีโอกาสศึกษาวิชาต่าง ๆ ในหมวดการศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัย และวิชาอื่นที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและในการมีชีวิตอยู่ในสังคม ศตวรรษที่ 21 ควบคู่ไปด้วย เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ

ลักษณะการจัดการเรียนการสอน:

หลักสูตรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้แบบบูรณาการ สามารถนำความรู้ด้านสาขาวิชาศาสนศึกษาและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องตามหลักสูตรไปใช้งานได้จริง สามารถค้นพบศักยภาพของตนเองและพัฒนาตนได้อย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความสามารถทางการสื่อสารและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และมีลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล

(หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรนี้เหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่มีการจัดการเรียนการสอนด้านศาสนศึกษาที่เน้น องค์ความรู้เนื้อหาสาระ ทฤษฎี ปรัชญา คำสอนของศาสนาต่างๆ ทั้งในรูปแบบการปฎิบัติที่มีศัทธาเป็น พื้นฐานและในรูปแบบทาง “วิทยาศาสตร์” ที่เป็นปรนัยวิสัย หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติ และใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอน โดยคณาจารย์ไทย และเชียวชาญชาวต่างชาติ เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เลือกศึกษา และวิจัยในสาขาวิชาเอก ใน 2 วิชาเอก คือ Religious Studies และ Buddhism and Society เพิ่มเติม

(หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่มีการจัดการเรียนการสอนด้านศาสนศึกษาที่เน้น องค์ความรู้ เนื้อหาสาระ ทฤษฎี ปรัชญา คำสอนของศาสนาต่างๆ ทั้งในรูปแบบการปฎิบัติที่มีศรัทธาเป็น พื้นฐานและในรูปแบบทาง “วิทยาศาสตร์” ที่เป็นปรนัยวิสัย หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติและใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอน โดยคณะจารย์ไทย และผู้เชียวชาญชาวต่างประเทศ เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เลือกศึกษาและวิจัยในสาขาวิชาเอก 4 สาขาวิชาเอก คือ พุทธศาสตร์ศึกษา (Buddhist Studies), ศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Religion in Southeast Asia) ศาสนาและวิทยาศาสตร์ (Religion and Science) และศาสนาและจิตวิทยา (Religion and Psychology) เพิ่มเติม

รายนามผู้อำนวยการ/คณบดี วิทยาลัยศาสนศึกษา

วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ พินิจ รัตนกุล 1 มกราคม พ.ศ. 2542 – 20 มกราคม พ.ศ. 2554
2. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สาธิต โหตระกิตย์ (รักษาการแทน) 21 มกราคม พ.ศ. 2554 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554
3. ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ (รักษาการแทน) 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
4. รองศาสตราจารย์ วาทินี บุญชะลักษี 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 – 19 กรกฎาคมพ.ศ. 2559
5. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธันย์ สุภัทรพันธุ์ (รักษาการแทน) 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
6. ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ (รักษาการแทน) 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ท.ทพ. ชัชชัย คุณาวิศรุต (รักษาการแทน) 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564
8. อาจารย์ ดร. พิบูลย์ ชุมพลไพศาล 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน

วิสัยทัศน์ ของวิทยาลัยศาสนศึกษา

เป็นสถาบันชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนและระดับนานาชาติ ในด้านการศึกษา วิจัย และให้บริการแก่สังคม ด้านศาสนศึกษา

พันธกิจ ของวิทยาลัยศาสนศึกษา

01

ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ด้านศาสนศึกษา บูรณาการความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ และคุณธรรมเข้าด้วยกัน เกิดความรู้คู่คุณธรรม สามารถประกอบอาชีพต่างๆ ได้

02

พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนทุกระดับให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก

03

ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับชาติและนานาชาติพร้อมทั้งให้บริการวิชาการและทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม

04

เสริมสร้างศักยภาพของเครือข่ายที่มีอยู่แล้วให้แข็งแกร่งมากขึ้น พร้อมทั้งแสวงหาความร่วมมือกับเครือข่ายใหม่

05

พัฒนาระบบบริหารของวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกมิติด้วยหลักธรรมาภิบาล

ค่านิยม ของวิทยาลัยศาสนศึกษา

M Morality: มั่นคงคุณธรรม
U Universality: นำวิชาการสู่สากล
C Changeability: ฝึกฝนเปลี่ยนแปลง
R Responsibility: กล้าแกร่งรับผิดชอบ
S Solidity: นอบน้อมเข้มแข็ง