หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศาสนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการศึกษาดูงานด้านโบราณคดีภาคสนาม “Yasodharasrama project” ระหว่างวันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ – วันเสาร์ที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา

วันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ – วันเสาร์ที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑

          หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศาสนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถาบัน École Française d’Extrême-Orient (EFEO) ประเทศฝรั่งเศส จัดโครงการศึกษาดูงานด้านโบราณคดีภาคสนาม “Yasodharasrama project” ระหว่างวันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ – วันเสาร์ที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ซึ่งโครงการ“Yasodharasrama” ดังกล่าวเป็นโครงการวิจัยระยะยาวขนาดใหญ่ โดยสถาบัน École Française d’Extrême-Orient (EFEO) ประเทศฝรั่งเศส เริ่มดำเนินการขุดสำรวจทางโบราณคดีตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อการขุดสำรวจโบราณสถานทางศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อาศรม” (Asramas) ที่ถูกปลูกสร้างไว้ทั่วอาณาจักรเขมรโดย พระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ กษัตริย์แห่งอาณาจักรกัมพูชา (ครองราชย์ในราวปี พ.ศ. ๑๔๓๒ - พ.ศ. ๑๔๔๓) ผู้ปฎิบัติตามโบราณราชประเพณีในการต้อนรับและอุปถัมภ์ศาสนาทุกๆศาสนา อาศรมเหล่านี้จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนสำหรับผู้แสวงบุญทางศาสนาในศาสนาต่างๆทั้ง พราหมณาศรมสำหรับนักบวชในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย (Saivaism), ไวษณาวาศรมสำหรับนักบวชในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย (Vaisnavism), และอาศรมสำหรับนักบวชในพระพุทธศาสนา นอกจากจะเป็นสภานที่พำนักของนักบวชแล้ว อาศรมยังถูกใช้เป็นสถานที่ในการปฏิบัติเพื่อการปลีกวิเวกทางจิตวิญญาณ และใช้เป็นสถานที่ในการถ่ายทอดวิชาความรู้ ตามจารึกระบุว่า มีการจัดระบบระเบียบอาศรมเป็นอย่างดี มีกุฏิสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย มีห้องเรียน และมีห้องสมุด โดยรูปแบบของขันติธรรมทางการเมืองในความหลากหลายทางศาสนานี้ได้ถูกบันทึกซ้ำแล้วซ้ำอีกในจารึกมากมายของกัมพูชา
          การขุดสำรวจทางโบราณคดีในโครงการ “Yasodharasrama” โดยสถาบัน École Française d’Extrême-Orient (EFEO) สำหรับปี ๒๕๖๑ จะเริ่มต้นขึ้นในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงช่วงกลางเดือนมีนาคม จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่นักศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศาสนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) จะเดินทางไปศึกษาดูงานด้านโบราณคดีภาคสนามในสถานที่จริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเรียนการสอนในรายวิชารายวิชา ศศศศ ๖๔๖ พุทธศาสนาอินเดีย (CRRS 646 Indian Buddhism) เพื่อสร้างเสริมความเข้าใจในเรื่องคติความเชื่อทางศาสนาที่ได้อิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย ความเจริญรุ่งเรืองทางศาสนาและวัฒนธรรม และความหลากหลายทางศาสนาในอาณาจักขอมโบราณ พร้อมกันนี้ยังได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับนักวิจัยจากสถาบันวิจัยที่มีชื่อระดับนานาชาติ
             
            







<<< อ่านทั้งหมด >>>